• หน้าแรก
  • ผลิตภัณฑ์
  • โปรโมชั่น
  • เพลินจิต
  • ข่าวสารและประชาสัมพันธ์
สุขภาพและความสวย

ส่อง 5 สายพันธุ์โควิด พร้อมเช็คอาการแยกตามสายพันธุ์

วันที่เผยแพร่: 16 ก.ย. 64

สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของประเทศไทย ณ วันนี้ยังคงเพิ่มขึ้นสูงต่อเนื่องเกือบ 14,000 ราย สภาพโดยรวมยังคงต้องเฝ้าระวังและป้องกันตนเองกันอย่างสูงเพื่อไม่ให้ตนเองเป็นหนึ่งในผู้ติดเชื้อ ในขณะเดียวกันทั่วโลกพบสายพันธุ์โควิดที่กลายพันธุ์แล้วจำนวน 11 สายพันธุ์ โดยประเทศไทยเองก็มีสายพันธุ์โควิดกลายพันธุ์อยู่ไม่น้อย ซึ่งมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ซึ่งในประเทศไทยพบสายพันธุ์โควิด ที่ระบาดอยู่ ทั้งสิ้น  5 สายพันธุ์โควิดกลายพันธุ์  โดยในวันนี้ ทางแอดมิน เพลินจิต ตามติดชีวิตอินเทรนด์ จะมาสรุปให้ทุกท่านได้ทราบว่า ประเทศไทยมีสายพันธุ์ไหนบ้าง ความรุนแรงเป็นอย่างไร และวัคซีนยี่ห้อไหนที่รักษาได้บ้าง?

สายพันธุ์ที่ 1: สายพันธุ์อู่ฮั่น (Serine)

เข้าสู่ประเทศไทย: มกราคม 2563

ลักษณะอาการ-ความรุนแรง: อาการทั่วไปสามารถมีไข้ ไอแห้ง อ่อนเพลีย หากมีอาการ

รุนแรงจะมีลักษณะหายใจลำบาก-หายใจถี่ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว

สายพันธุ์ที่ 2: เบตา (Beta)

เข้าสู่ประเทศไทย: มกราคม 2564

ลักษณะอาการ-ความรุนแรง: ระบาดรวดเร็ว แพร่เชื้อไวขึ้นราว 50% ลดประสิทธิภาพแอนติบอดี้ทำให้มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เจ็บคอ ท้องเสีย ปวดศีรษะ ตาแดง รับรส-รับกลิ่นผิดปกติ และมีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี เมื่อโควิดลงปอดจะหายใจลำบาก หายใจถี่ มีเสมหะในปอด เจ็บหน้าอก และสูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว

วัคซีนที่รักษาได้ดี:

Pfizer/BionTech: ป้องกันโรค 86% ป้องกันติดเชื้อ 82%

Moderna: ป้องกันโรค 89% ป้องกันติดเชื้อ 85%

AstraZeneca: ป้องกันโรค 35% ป้องกันติดเชื้อ 31%

Sinopharm: ป้องกันโรค 47% ป้องกันติดเชื้อ 41%

สายพันธุ์ที่ 3: อัลฟา (Alpha)

เข้าสู่ประเทศไทย: เมษายน 2564

ลักษณะอาการ-ความรุนแรง: แพร่กระจายง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70% มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อย ปวดตามร่างกายและศีรษะ และการรับรส-ได้รับกลิ่นผิดปกติ 

วัคซีนที่รักษาได้ดี:

Pfizer/BionTech: ป้องกันโรค 91% ป้องกันติดเชื้อ 86%

Moderna: ป้องกันโรค 94% ป้องกันติดเชื้อ 89%

AstraZeneca: ป้องกันโรค 74% ป้องกันติดเชื้อ 52%

 Sinopharm: ป้องกันโรค 73% ป้องกันติดเชื้อ 65%

สายพันธุ์ที่ 4: แกมมา (Gamma)

เข้าสู่ประเทศไทย: พฤษภาคม 2564

ลักษณะอาการ-ความรุนแรง: รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงมีความสามารถ

แพร่ระบาดวนเวียนอยู่ในหมู่คนที่ได้รับวัคซีนแล้วได้ด้วย แม้พื้นที่นั้นๆจะมีการฉีดวัคซีนที่สูง

ก็ตาม(ลดประสิทธิภาพวัคซีน)

 วัคซีนที่รักษาได้ดี:

Pfizer/BionTech: ป้องกันโรค 86% ป้องกันติดเชื้อ 82%

Moderna: ป้องกันโรค 89% ป้องกันติดเชื้อ 85%

AstraZeneca: ป้องกันโรค 35% ป้องกันติดเชื้อ 31%

Sinopharm: ป้องกันโรค 47% ป้องกันติดเชื้อ 41%

สายพันธุ์ที่ 5: เดลตา (Delta)

เข้าสู่ประเทศไทย: พฤษภาคม 2564

ลักษณะอาการ-ความรุนแรง: ระบาดเร็ว แพร่เชื้อง่าย หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน (ทั้งนี้ประเทศไทยยังไม่เจอสายพันธุ์เดลตาพลัสเพิ่มเติม)จะมีอาการปวดหัว เจ็บคอ มีน้ำมูก ไม่ค่อยพบการ

สูญเสียการรับรสและอาการคล้ายเป็นหวัด

ธรรมดา

วัคซีนที่รักษาได้ดี:

Pfizer/BionTech: ป้องกันโรค 86% ป้องกันติดเชื้อ 82%

Moderna: ป้องกันโรค 89% ป้องกันติดเชื้อ 85%

AstraZeneca: ป้องกันโรค 35% ป้องกันติดเชื้อ 31%

Sinopharm: ป้องกันโรค 47% ป้องกันติดเชื้อ 41%

ทั้งนี้ ยังมีสายพันธุ์สายพันธุ์มิว ที่ปัจจุบัน พบโควิด-19 สายพันธุ์มิวแล้วใน 43 ประเทศทั่วโลก หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “B.1.621” พบครั้งแรกในโคลอมเบีย ทวีปอเมริกาใต้ ก่อนจะระบาดกระจายไปในหลายชาติอเมริกาใต้ ส่วนในเอเชียพบในฮ่องกงและญี่ปุ่น แต่ในประเทศเหล่านั้นมีสัดส่วนการระบาดน้อยกว่า 0.1% 

องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศยกระดับไวรัสสายพันธุ์ "มิว" หลังพบว่า เชื้อตัวนี้อาจหลบเลี่ยงวัคซีนได้ คล้ายคลึงกับสายพันธุ์ “เบตา” ที่พบในแอฟริกาใต้ พร้อมเตือนด้วยว่า ไวรัส มิว อาจติดต่อได้ง่าย คล้ายกับ เชื้อ “เดลตา” ซึ่งเชื้อ เบตาและเดลตา ถูกยกระดับเป็น “สายพันธุ์ที่ต้องกังวล” ไปแล้ว โดยเป็นระดับอันตรายกว่าสายพันธุ์ที่ควรสนใจ

สำหรับประเทศไทยยังไม่พบการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์นี้ แต่จำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด

 

อย่างไรก็ตาม  เราก็ยังต้องป้องกันตัวเองด้วยการปฎิบัติตัวตามแนวทางการปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคโควิด 19   เรื่องสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอนะคะ  ด้วยความปรารถนาดีจากทีม

แอดมิน เพลินจิต ตามติดชีวิตอินเทรนด์

โรคภัยต่าง ๆ สามารถป้องกัน และลดความเสี่ยงได้ หมั่นดูแลสุขสุขภาพของตัวเองและครอบครัว ด้วยความรักและความห่วงใย แอดมินขอแนะนำ “แผนประกันสุขภาพแฮปปี้ เฮลธ์ แคร์” แบบมีจำนวนเงินความรับผิดส่วนแรก ช่วยให้คุณหมดกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เมื่อค่ารักษาจากสวัสดิการไม่เพียงพอ พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี* ประกันสุขภาพส่วนบุคคลจาก Cigna เลือกได้ในแบบคุณ ครอบคลุมทุกการรักษา

 

คลิกเลย >> https://www.krungsribroker.com/health-insurance

 

ก่อนตัดสินใจทำประกัน แอดมินแนะนำให้ศึกษาแผนประกันอย่างละเอียด เช่น ความคุ้มครองที่จะได้รับ เงินชดเชย เบี้ยประกัน หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ kgibsales@krungsri.com  ทางเรายินดีให้คำปรึกษาค่ะ สุขภาพดีเป็นลาภอันประเสริฐ แม้วันนี้ยัง     แข็งแรง แต่อนาคตไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าโรคร้ายจะไม่ถามหา ทางที่ดีที่สุดคือการดูแลตัวเอง รักษาสุขภาพ รวมถึงการบริหารความเสี่ยงอย่างการทำประกันก่อนวันนั้นมาถึง ด้วยความเป็นห่วงนะ ^^

ขอบคุณข้อมูลประกอบบทความจาก  

กรมควบคุมโรค : www.ddc.moph.go.th

กรมสุขภาพจิต : www.dmh.go.th